
ตอนที่ดูทรงล่วงหน้าเอาไว้ว่าจะต้อง work from home แน่ ๆ ก็เตรียมหาข้อมูลหาเคสตัวอย่างรอไว้ ปุบปับขึ้นมาจะได้ไม่ล่ก
นอกจากหาในเน็ตในอะไรแล้ว คนแรกที่นึกถึงก็คือ คุณพี่ Jason จากหนังศุกร์ ๑๓ เฮ้ย ไม่ใช่สิ Jason Fried จาก 37signals (เปลี่ยนชื่อเป็น Basecamp แล้ว) ที่ใช้ work from home มานาน ๒๐ ปีแล้วนะ
และการ wfh ของ 37signals นี่เป็นแบบขั้นสุดมาก ไม่ใช่แค่อยู่ในเมืองเดียวกันเท่านั้นนะ แม่งข้ามเมือง ข้ามประเทศ ข้ามโซนเวลาไปถึงข้ามทวีปโน่นเลย
พี่ Jason เอาประสบการณ์ของตัวเองและของบริษัทมาเขียนเป็นหนังสือเรื่องนี้โดยเฉพาะได้หนึ่งเล่ม ชื่อว่า REMOTE หน้าตาตามภาพด้านล่าง ถือเป็นไบเบิลสำหรับองค์กรที่อยากจะทำอย่างนี้จะได้มาดูแนวทางกันก่อน
อุปสรรคใหญ่ข้อนึงที่พี่ Jason บอกว่าทำให้การ wfh (จริง ๆ พี่แกเรียก remote working นะ แต่ให้เข้ากับบริบทบ้านเราตอนนี้ก็ขอเรียก wfh ไปละกัน โอเคนะ) เกิดได้ยากคือ ความกังวลของผู้บริหาร กังวลว่าพนักงานจะเหลวไหล ทำให้ได้งานน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
สำหรับในประเทศไทย ความกังวลนี้จะโทษผู้บริหารก็ไม่ได้ เพราะตัวพนักงานเองก็มีส่วนอยู่ด้วย เลยกลายเป็นปัญหาโลกแตก จะแก้ยังไงดี
ก็ต้องมาพิสูจน์กัน ให้เกิดเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์
ส่วนตัวมองว่าวิกฤติโควิดรอบนี้เมื่อผ่านไปได้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคธุรกิจ เหมือนเมื่อครั้งต้มยำกุ้งทำให้สถาบันการเงินต้องขยับตัวครั้งใหญ่
ในส่วนของพนักงานเองก็อาจใช้โอกาสครั้งนี้พิสูจน์ให้ผู้บริหารเห็นได้ว่า ความกังวลที่ว่านั่นมันจะไม่เกิด
แค่นี้ก็แฮปปี้กันทั้งสองฝ่าย… มั้ยวะ? 5555 🤟