รุกสยามในนามของพระเจ้า

รุกสยาม

[แนะนำโดย คุณนพพร พวงสมบัติ]

ฝรั่งรุกอุกอาจเอื้อม เอาสยาม
สนั่นทัพโอ่พระนาม แอบอ้าง
กลทูตกึ่งสงคราม กลศึก
กลกลอกกำปั่นย่าง สยบย่ำ อยุธยา [น.๙ คำนำสำนักพิมพ์]

Pour la plus grande gloire de Dieu หรือในชื่อภาษาไทย รุกสยามในนามของพระเจ้า เป็นนวนิยายยั่วล้อประวัติศาสตร์ไทย-ฝรั่งเศสในช่วงสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ บอกเล่าเรื่องราวของเหล่าตัวละครเอกที่เดินทางอยู่ในช่วงเวลาของการแลกเปลี่ยนทางการทูตระหว่างสองประเทศนี้จวบจนกระทั่งผลัดแผ่นดินเข้าสู่รัชสมัยของพระเพทราชา ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลจากบันทึกจดหมายเหตุเอกสารทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก แล้ว “…อนุญาตให้ตัวเอง ‘แต่งเติม’ (เฉพาะตรงที่บางประโยคหรือบางคำพูดถูกเจ้าตัวหนอนแห่งกาลเวลากัดกร่อนแทะเล็มแหว่งวิ่นไป)”–[น.๒๑] และตรงที่แต่งเติมเข้ามานี่แหละที่เป็นสีสันของเรื่องราว สีสันของการใช้ภาษาที่ทำให้เรื่องราวที่บอกเล่าในเรื่องเป็นไปด้วยความ “ฮา” แต่ก็ด้วยความที่เป็นนิยายอิง (เอกสารทาง) ประวัติศาสตร์นี่แหละที่ทำให้เรา “…เห็นภาพการปะทะสัมพันธ์ระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตกเมื่อสามร้อยกว่าปีก่อน เป็นการปะทะขัดแย้งทางความคิดและวิถีชีวิตระหว่างคนสองวัฒนธรรม โดยมีเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์และการเมืองเป็นสายใยในการดำเนินเรื่อง ถ้าจะอ่านเอาความให้เป็นนวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ก็ได้ หรือจะหารสชาติจากการสังเคราะห์ธาตุแท้ของมนุษย์ก็ดี” –[น.๑๑ คำนำผู้แปล]

และแม้ว่าผู้แปลจะเกริ่นนำถึง “วาทกรรม” พื้นฐานในทางประวัติศาสตร์ไว้แล้วว่า “นวนิยายเรื่องนี้เสนอประเด็นที่น่าสนใจให้เสวนากันต่ออยู่สองประเด็น ประการแรกคือเรื่องของการเขียนประวัติศาสตร์ เห็นได้ชัดว่าสิ่งที่เรียกว่า ‘ข้อเท็จจริง’ แม้ในหลักฐานร่วมสมัยก็ไม่ได้ตรงต้องกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า ‘ใคร’ เป็นผู้ ‘เล่าเรื่อง’ จากมุมมองและจุดประสงค์อย่างไร ประการที่สองคือ เราจะขีดเส้นพรมแดนระหว่างโลกของ ‘ความเป็นจริง’ และโลกของ ‘ความลวง’ อันเป็นเรื่องของจินตนาการของมนุษย์ไว้ ณ ที่ใด” แต่ตัวโปรยที่ผู้เขียนวางไว้ในบทสุดท้ายซึ่งหยิบมาจากบันทึกของลาลูแบร์ก็สะกิดใจคนอ่านอย่างเราเหมือนกันว่า ตกลงข้อความในบันทึกนั้นมันเป็นแค่วาทกรรมหรืออัตลักษณ์ของคนไทยจริงๆ ใช่เปล่าว้า…..

ลักษณะสำคัญที่สะท้อนการสยบเป็นทาสของคนสยาม อยู่ตรงที่พวกเขาไม่กล้า แม้แต่จะเอ่ยปากพูดถึงเหตุการณ์เรื่องราวใดในบ้านเมืองของตัวเอง —ซิมง เดอ ลาลูแบร์, ราชอาณาจักรสยาม, ค.ศ.๑๖๙๑ [น.๖๙๕]

รุกสยามในนามของพระเจ้า
ผู้เขียน : มอร์กาน สปอร์แตช
ผู้แปล : กรรณิกา จรรย์แสง

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: