หนังสือในดวงใจ ๑๐ เล่ม (ตอนที่ ๒)

My shelf

หมายเหตุ : โพสต์นี้ผมเขียนและโพสต์เอาไว้ในบลอกส่วนตัวตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๗ แต่เอามาโพสต์ซ้ำอีกครั้งที่นี่เนื่องจากเห็นว่าเนื้อหาเกี่ยวข้องกันครับ

ต่อจากโพสต์ที่แล้วที่เล่าถึงหนังสือในดวงใจ ๕ เล่มไปแล้วนะครับ โพสต์นี้มาว่ากันต่อ

๖. ฤทธิ์มีดสั้น โดย โกวเล้ง

นิยายกำลังภายในนี่ผมถือว่าเป็นหนังสือที่มี learning curve สูงมากนะครับ พยายามจะอ่านมาตั้งแต่ช่วงมอปลาย แต่ก็ไปไม่รอด เข้ามหา’ลัยลองเช่ามาอ่านอีกทีก็ยังไม่รอด สาเหตุเป็นเพราะรายละเอียดมันเยอะเหลือเกิน ต้องใช้เซลล์สมองเยอะมาก ตัวละครมีเพียบ และในบรรดานั้นแต่ละคนมีไม่ต่ำกว่า ๓ ชื่อ มีทั้งชื่อปกติสามัญ มีฉายาอีก แล้วมีชื่อแบบไม่ปกติด้วย ยกตัวอย่างเรื่องฤทธิ์มีดสั้น ตัวเอกชื่อ ลี้คิมฮวง แต่ฉายาพี่เค้าคือ เซี่ยวลี้ปวยตอ เท่านั้นยังไม่พอ คุณพี่ยังมีชื่อที่เรียกขานกันว่า ลี้ถ้ำฮวย อีกชื่อนึง นี่ยังไม่นับคำเรียกนับญาติกันอีกนะ จะเป็น ตั่วกอ อาอึ้ม อาเจ่ก อีกสารพัดอ่ะ และตัวละครแต่ละตัวก็มีวิชาฝีมือแตกต่างหลากหลายจากหลายสำนักวิชา อ่านๆ ไปก็นึกในใจ กูจะรอดมั้ย?

ฤทธิ์มีดสั้น / โกวเล้ง

สุดท้ายตัดสินใจ เอาวะ เห็นใครบอกเป็นเสียงเดียวว่า เล่มนี้แหละ แม่มสุดยอด ผมอดทนอ่านจนพ้นช่วง learning curve มาได้ ทีนี้ยาวเลยครับ จบฤทธิ์มีดสั้น ต่อด้วยเหยี่ยวเดือนเก้า ไปจอมดาบหิมะแดง ข้ามฟากไปหาพี่กิมย้ง เล่นมังกรหยก ก๊วยเจ๋ง อึ้งย้ง ต่อภาคเอี้ยก้วย เซียวเหล่งนึ่ง ยาวไปเตียบ่อกี้ ต่อไปถึง ๘ เทพอสูรมังกรฟ้า แล้วข้ามมาเล็กเซี่ยวหงส์ ฯลฯ ฟังดูเหมือนจะเยอะแต่ถ้าเทียบกับบรรดาเซียนหนังสือกำลังภายในแล้วผมอ่อนด้อยมาก

ในบรรดาหนังสือกำลังภายในทั้งหมดผมยกให้ฤทธิ์มีดสั้นนี่แหละ เหตุที่ช่วยเปิดโลกบู๊ลิ้มให้ผมได้ในที่สุด

๗. Liar’s Poker โดย Michael Lewis

ในช่วงปี ‘๙๐ มีคำพูดทำนองว่า อย่าเพิ่งเข้าทำงานใน Wall Street หากยังไม่ได้ดูหนังเรื่อง Wall Street (กำกับโดย Oliver Stone) และยังไม่ได้อ่าน Bonfire of the Vanities (ของ Tom Wolfe) และ Liar’s Poker เล่มนี้

Liar's Poker / Michael Lewis

ความหมายของคำพูดที่ว่าคือ ถ้ายังไม่ได้ดูหนัง ไม่ได้อ่านหนังสือ ๒ เล่มนี้ก็จะยังไม่เข้าใจวัฒนธรรมของแวดวง Wall Street ยังไม่รู้ซึ้งถึงเล่ห์เหลี่ยมและความโลภ หากเข้าไปทำงานก็จะโดนกินทั้งเป็นซะเปล่าๆ

Michael Lewis เขียนหนังสือเล่มนี้จากประสบการณ์การทำงานเป็นเซลส์ขายบอนด์อยู่ที่ Salomon Brothers ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ในตลาดบอนด์ในยุคนั้น โดยเล่าให้เห็นถึงความโลภและเห็นแก่ตัวของคนในวงการ ทำได้ทุกอย่างแม้แต่การขายขยะให้กับลูกค้า (ได้อย่างหน้าตาเฉย แถมพนักงานที่ขายได้ยังได้คำชมอีกต่างหาก) Liar’s Poker เป็นหนังสือเล่มแรกๆ (หรือเล่มแรก) ที่คนในวงการมาเขียนเล่าเรื่องวงการของตัวเองในทำนอง insider tells all และเป็นต้นแบบให้กับหนังสือแนวเดียวกันนี้ในยุคหลังๆ

ตัวละครในเล่มนี้บางคนเป็นหนึ่งในพวกตัวจี๊ดที่มาถล่มค่าเงินบาทของไทยในช่วงต้มยำกุ้งด้วยนะครับ

 Liar’s Poker ประสบความสำเร็จสูงมาก ส่งให้ Lewis มาเป็นนักเขียนเต็มตัวและเขียนงานดีๆ น่าอ่านตามมาอีกหลายเล่ม อย่าง The New New Thing ที่เป็นเรื่องราวของ Jim Clark หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Netscape และมีส่วนทำให้เกิดยุคดอทคอมในช่วงปี ‘๙๐ หรือ The Blind Side เรื่องของนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลที่นำมาสร้างเป็นหนังและส่งให้ Sandra Bullock ได้ออสการ์

Lewis เคยให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า เขาเจตนาเขียน Liar’s Poker เพื่อเตือนสติคนหนุ่มสาวถึงความโลภ ความไร้จริยธรรม ไร้เหตุผลของแวดวง Wall Street และหวังว่าจะช่วยให้คนหันไปทำงานด้านอื่น แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม เพราะหนังสือเล่มนี้กลับยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้คนสนใจที่จะเข้าทำงานใน Wall Street มากขึ้น เป็นอย่างนั้นไป

๘. One Up On Wall Street โดย Peter Lynch

ผมสนใจเรื่องหุ้นตอนเรียนปีสามในมหา’ลัย ปัญหาสำคัญที่เจอตอนนั้นคือ หนังสือที่เกี่ยวกับการเลือกหุ้น วิเคราะห์หุ้นมีน้อยมาก ที่พอจะมีอยู่บ้างก็เป็นพวกตำราเรียน ซึ่ง (โคตร) จะวิชาการ กับหนังสือเรื่องการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค ซึ่งก็เป็นพวกแท่งเทียน เขียนกราฟ ลากเส้น แต่ต้องใช้โปรแกรม ซึ่งเราไม่มี ยุคนั้นไม่ต้องพูดถึงอินเทอร์เน็ตนะครับ คนรู้จักน่าจะมีแค่หยิบมือ จะเข้ากูเกิ้ลหาแบบสมัยนี้ก็ทำไม่ได้ ก็ต้องคอยอ่านเอาจากนิตยสารเล่มไหนที่พอจะมีลงบทความเรื่องพวกนี้อยู่บ้าง

จนกระทั่งจบออกมาทำงาน ผมไปอ่านเจอจากที่ไหนก็จำไม่ได้ว่ามีหนังสือเกี่ยวกับการเลือกหุ้นในแนวปัจจัยพื้นฐานที่ดีมากๆ อยู่เล่มนึง เขียนโดย Peter Lynch ผมได้เล่มนี้จากเอเชียบุ๊คส์ สาขาสุขุมวิท เหลืออยู่เล่มนึงพอดี จริงๆ ตอนนั้นก็ยังอ่านภาษาอังกฤษไม่ได้ความนะ (ตอนนี้ก็ยิ่งไม่ได้ความ) แต่อารมณ์ประมาณ กูเอาไว้ก่อนล่ะ

One Up On Wall Street / Peter Lynch

Peter Lynch เป็นซูเปอร์สตาร์ในแวดวงกองทุนรวมสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในนักการเงินที่ชาวบ้านชาวช่องรู้จักดี กองทุนที่พี่เค้าบริหารเติบโตได้กำไรต่อเนื่อง ถ้าจำไม่ผิดสถิติคือ ลงทุน ๑๐ ปีกำไร ๑๙ เท่า ขนาดนั้นเลยนะ ด้วยเครดิตขนาดนี้พอพี่ Lynch เขียนหนังสือว่าด้วยการเลือกหุ้นออกมาก็เลยขายดีถล่มทลาย แล้วที่เจ๋งก็คือ หนังสือของพี่เค้าดีจริงๆ สอนวิธีเลือกหุ้นแบบดูปัจจัยพื้นฐาน ใช้ภาษาแบบง่ายๆ ชาวบ้านก็เข้าใจงี้

ช่วงนั้นถ้ามีใครมาถามผมว่าจะอ่านหนังสือเกี่ยวกับการเล่นหุ้นเล่มไหนดี ผมจะแนะนำเล่มนี้ตลอดนะครับ จนหลังๆ มานี้มีหนังสือของไทยหลายเล่มที่ออกมาแล้วเขียนดี เข้าใจง่ายประมาณเดียวกัน ถึงได้เปลี่ยนมาแนะนำเล่มอื่นไปแทน

 ๙. The World Is Flat โดย Thomas L. Friedman

Friedman เป็นคอลัมนิสต์ (ที่ดังมาก) ของหนังสือพิมพ์ The New York Times เขียนเล่มนี้เป็นเล่มต่อเนื่องจาก The Lexus and the Olive Tree ที่ว่าด้วยเรื่องราวและบทบาทของ Globalization ที่มีต่อประเทศต่างๆ สำหรับเล่มนี้เป็นเรื่องราวของ Globalization และเทคโนโลยีที่ช่วยให้ประเทศด้อย เอ่อ… กำลังพัฒนาสามารถมาแข่งขันกับประเทศพัฒนาได้ ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ คือ ธุรกิจเอาต์ซอร์สของอินเดีย ที่ทำเอาคนอเมริกันตกงานกันเพียบบบบ

The World Is Flat / Thomas L. Friedman

สำหรับเล่มที่มีอยู่จะเห็นว่าหน้าปกแปลกไปไม่เหมือนเล่มอื่นๆ ที่เป็นรูปโลกแบนๆ เพราะเล่มนี้เป็น First Edition ที่ทางสำนักพิมพ์ทำพลาด ไปเอารูปมาทำปกโดยไม่ได้ขอลิขสิทธิ์จากเจ้าของ (เป็นตัวอย่างที่ดีว่า สำนักพิมพ์ระดับโลกแม่มก็พลาดโง่ๆ กันได้) พอออกวางขายได้ไม่นานก็โดนฟ้อง เลยต้องเก็บกลับมาพิมพ์ปกใหม่ เวอร์ชั่นนี้เลยมีน้อยนิดนึง รูปที่อยู่บนปกนี่ชื่อว่า I Told You So หรือแปลได้ว่า กูบอกมึงแล้ว (ว่าโลกแบน)

๑๐. Live Love Laugh โดย มนูญ ทองนพรัตน์

คอนเซ็ปต์หนังสือเล่มนี้แข็งแรงมากและถูกใจผมมาก เป็นหนังสือที่ไปสัมภาษณ์คนอาชีพต่างๆ ถึงรูปแบบการใช้ชีวิต ความชอบส่วนตัว งานที่ทำและที่สำคัญคือ บ้านที่เขาอยู่เป็นยังไง ซึ่งก็จะแตกต่างกันตามรูปแบบการใช้ชีวิต อาชีพการงานและความชอบของแต่ละคน เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้คล้ายกับรายการทีวีที่ผมชอบมากรายการนึงทางช่อง ThaiPBS คือ เป็น อยู่ คือ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะผู้เขียนเล่มนี้เป็นทีมงานคนนึงของรายการเป็น อยู่ คือ ด้วย

Live Love Laugh / มนูญ ทองนพรัตน์

จริงๆ ครบ ๑๐ เล่มแล้ว แต่มันเหมือนยังไม่สุด ขออนุญาตแหกกฎ เพิ่มอีกสองสามเล่มคงไม่ว่ากันนะ

๑๑. TIME ฉบับ August 18, 1997

ผมเป็นติ่งพี่’ตีฟ จ็อบส์มาตั้งแต่ม.๒ พอมีงานมีการทำแล้วก็พอจะอ่านภาษาอังกฤษได้บ้างก็เริ่มซื้อหนังสือและแมกกาซีนเกี่ยวกับพี่จ็อบส์ Apple และ Pixar เก็บไว้ ในบรรดาคอลเล็คชั่นทั้งหมดนี่ ต้องยกให้เล่มนี้

TIME / August 18, 1997

ในปี ๑๙๙๗ จ็อบส์เพิ่งกลับมาที่ Apple และในวันนั้นจ็อบส์และ Apple ต่างจากวันที่จ็อบส์เสียชีวิตมากนะครับ Apple กำลังแย่ ใกล้จะล้มละลายเต็มที เรื่องและภาพจากปกเล่มนี้เป็น exclusive story ที่เป็น behind the scene ก่อนที่จ็อบส์จะขึ้นพูดที่งาน MacWorld และประเด็นสำคัญของงานวันนั้นก็คือ การประกาศดีลที่ไม่น่าเป็นไปได้ คือ Microsoft จะลงทุนใน Apple จำนวน ๑๕๐ ล้านเหรียญและสัญญาว่าจะผลิตซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องแมคต่อไป

ดีลนี้โคตรสำคัญสำหรับ Apple ในเวลานั้น ประมาณว่าถ้าดีลล้ม Apple ก็อาจล้มนะครับ

ทีเด็ดของเรื่องนี้ก็คือ ก่อนวันงานแค่ ๑๒ ชั่วโมงจ็อบส์ยังโทรเจรจาดีลกับบิลล์ เกตส์อยู่เลย นักข่าว Time ก็อยู่แถวนั้นด้วย รายละเอียดของดีลอาจจะไม่ได้ยิน แต่หลังจากที่ปิดดีลได้นี่สิครับ จ็อบส์บอกกับเกตส์ว่า

“Thank you for your support for this company. I think the world’s a better place for it”

ครับ ถ้าใครเป็นสาวก Apple ในเวลานั้น ได้ยินประโยคนี้คงจี๊ดดดดดดดน่าดู

๑๒. The Godfather โดย Mario Puzo

 ไม่รู้จะพูดยังไงเล่มนี้ ผมเริ่มจากดูหนังก่อน โคตรชอบ แล้วก็ซื้อเล่มฉบับแปลภาษาไทยมาอ่าน พอเริ่มอ่านภาษาอังกฤษได้ก็ซื้อเล่มภาษาอังกฤษมาอีก หยิบมาอ่านแต่ละครั้งได้มุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นทุกครั้ง ทีแรกก็อ่านเอามันนะ ครั้งต่อไป เฮ้ย นี่มันเรื่องของครอบครัวนะ ครั้งถัดมา อ้าว มีเรื่องบิสสิเนสด้วยนะ อ่านอีกที อืม นี่มันมีการบริหารบุคคลด้วยนะมึง สุดที่จะเอ่ยอ่ะ

The Godfather / Mario Puzo

๑๓. งานเขียนของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล

ผมเป็นศิษย์สำนักผู้จัดการนะครับ ถึงวันนี้ออกจากสำนักมาแล้วก็ยังสำนึกตัวอยู่เสมอและถือว่าโชคดีมากที่มีโอกาสได้อ่านงานเขียนของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ท่านเจ้าสำนักมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นทำงาน

คุณสนธิมีความสามารถพิเศษในการอธิบายเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่ายๆ บวกกับภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้การเล่าเรื่องของคุณสนธิดึงดูด น่าติดตามและมีพลังอย่างมาก ใครที่เคยดูรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” ทางช่อง ๙ โมเดิร์นไนน์เมื่อหลายปีก่อนคงจะพอจำกันได้

ถ้าจะเอาให้ใกล้กว่านั้นก็ลองนึกถึงภาพคุณสนธิบนเวทีพันธมิตรนะครับ

โลกานุวัตร / สนธิ ลิ้มทองกุล

เวลาเขียนหนังสือแล้วเขียนไม่ออก อาจจะตื้อด้วยการเล่าเรื่อง หรือ สำนวนภาษา ผมมักจะหยิบงานเขียนของคุณสนธิมาเปิดดู ซึ่งข้อเสียของการอ่านงานของคุณสนธิที่เจอทุกครั้งก็คือ อ่านแล้วมันเพลิน ลืมเวลา บ่อยครั้งที่ต้องตัดใจวางเพราะไม่งั้นจะเขียนงานตัวเองไม่ทันครับ

 ๑๔. เชอร์ลอคโฮล์มส์ โดย Sir Arthur Conan Doyle

พี่โฮล์มส์นี่น่าจะเป็นนักสืบในดวงใจของเด็กผู้ชาย (และผู้ใหญ่) จำนวนไม่น้อยนะครับ และผมเชื่อว่า ถ้าไปถามเด็กผู้ชายว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร? เด็กส่วนหนึ่งจะอยากเป็นนักสืบ โดยมีที่มาจากความเท่ของพี่โฮล์มส์นี่แหละ (แต่เด็กยุคนี้ไม่รู้แล้วนะ อาจจะอยากโตขึ้นมาเป็นณเดชน์ หรือเจมส์ จิ กันหมดแล้ว)

เชอร์ลอคโฮล์มส์ / Sir Arthur Conan Doyle

ชุดนี้อ.สายสุวรรณเป็นผู้แปล ผมซื้อเอง อ่านมาตั้งแต่เด็ก เพิ่งมาเปิดดูวันนี้ว่าพิมพ์มาตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๑๖ คลาสสิกมากกกกก

ครบแล้วครับ ยาวมาก ขอบคุณทุกคนที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ ใครคิดเห็นยังไง อยากแชร์หนังสือเล่มไหน เชิญได้ในคอมเม้นต์นะครับ

What We Read: อำนาจ ลิมป์บรรจงกิจ

Amnaj

ซีรี่ย์ What We Read (ซึ่งเป็นไอเดียที่เป็นที่มาของบลอก What We Read นี้) ต้องการจะนำเสนอการอ่านของผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและอาจทำให้นักอ่านได้รู้จักหนังสือที่น่าสนใจมากขึ้นครับ

ชื่อ-นามสกุล : อำนาจ ลิมป์บรรจงกิจ

อาชีพ : Senior Graphic Designer ที่ Car Thailand Magazine

คุณจัดสรรเวลาสำหรับการอ่านอย่างไร?
การจัดสรรเวลาอ่านหนังสือของผม คือแค่ถ้าว่างเมื่อไหร่ก็จะอ่าน ส่วนใหญ่จะเป็นก่อนนอน ก่อนทำงานหรือว่าเวลาตอนรอที่หน้าโรงหนัง แต่ถ้าจะมีเวลาได้อ่านจริงจังแบบต่อเนื่องน่าจะเป็นก่อนนอนของทุกๆ วัน นิตยสารบ้าง พ็อกเก็ตบุ๊คบ้างแล้วแต่ว่าช่วงนั้นๆ จะสนใจอะไร

ตอนนี้คุณกำลังอ่านหนังสือเล่มไหน? เนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
หนังสือที่อ่านในตอนนี้คือนิตยสาร คิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เนื้อหาเกี่ยวกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่มีส่วนช่วยในการผลักดันเศรษฐกิจไทย ที่จัดทำโดย TCDC

คิด

หนังสือที่คุณอ่านจบเล่มล่าสุดคือเล่มไหน? เนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
หนังสือที่อ่านจบเล่มล่าสุดคือ ฤทธิ์มีดสั้น นวนิยายกำลังภายใน บทประพันธ์ของโกวเล้ง แปลโดย ว. ณ เมืองลุง

ฤทธิ์มีดสั้นเป็นเรื่องราวของลี้คิมฮวง อดีตบัณฑิตหน้าบัลลังค์ฮ่องเต้ที่สืบทอดความยิ่งใหญ่ระดับ ๗ บัณฑิต ๓ ถ้ำฮวย ที่ตัวเอกของเราก็เก่งและฉลาดขนาดเป็น ๑ ในถ้ำฮวยที่ว่า และมีเพื่อนสนิทชื่อว่า อาฮุย (ฉบับ น. นพรัตน์ออกเสียงเป็น อาเฟย) แต่เพราะแกเป็นคนมากน้ำใจแบบที่ว่ามิตรภาพย่อมมาก่อนเสมอจนลืมนึกถึงตัวเอง…ชีวิตก็เลยต้องระทมชนิดกู่ไม่กลับ เพราะแกถือคติอภัยให้ทุกคนยกเว้นอภัยให้ตัวเอง

ฤทธิ์มีดสั้น

หนังสือชุดนี้เป็น ๓ เล่มจบ และมีการออกแบบรูปเล่มให้เหมือนตำราโบราณแบบในหนังจีนเลยช่วยเพิ่มอรรถรสในการอ่านดีนักแล

หนังสือที่คุณตั้งใจจะอ่านเป็นเล่มต่อไป? เพราะอะไร?
หนังสือที่ตั้งใจจะอ่านเล่มต่อไป คือ The Name of The Rose (สมัชชาแห่งดอกกุหลาบ) ผลงานของ Umberto Eco แปลโดย ภัควดี วีระภาสพงษ์ เคยถูกทำเป็นภาพยนตร์มาแล้วเมื่อปี ๑๙๘๖ เรื่องราวเกี่ยวกับการสืบสวนคดีฆาตกรรมโดยบาทหลวงชาวอังกฤษตามติดด้วยลูกศิษย์ เหตุการณ์ในเรื่องมีแค่ ๗ วัน ส่วนหนังสือก็มีถึง ๗๐๐ กว่าหน้า พร้อมด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคกลาง และเรื่องราวเชิงปรัชญา (นี่มัน Sherlock Holmes แบบฉบับวาติกันเลยนะ Davinci Code ยังมาทีหลังเลย) ความจริงเป็นหนังสือที่พี่ชายคนโตซื้อไว้นานแล้ว ตอนนี้ไม่ทราบว่าหายไปไหน แต่ยังฝังใจว่าจะต้องอ่านให้ได้ คงต้องไปหาซื้อมาอ่านและเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัวซะแล้ว

The name of Rose (Old Cover)

หนังสือเล่มไหนที่คุณอ่านจบแล้วและอยากแนะนำให้คนอื่นได้อ่าน พร้อมเหตุผล
เล่มนี้ผมอ่านมานานมากแล้วตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆ  คือ แล่เนื้อ เถือหนัง เล่มแรก โดย ประชา สุวีรานนท์ เป็นหนังสือรวบรวมบทวิจารณ์ภาพยนตร์ที่ไม่ธรรมดา ลึกซึ้ง สอนในเรื่องการตีความภาพยนตร์อย่างมีชั้นเชิง ที่ร่วมสมัยไม่มีเชย แม้ว่าจะเป็นการรวบรวมบทความจากนิตยสารสารคดี เมื่อปี ๒๕๓๕-๒๕๓๙ แต่ที่ผมได้อ่านคือเล่มที่พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๔๐ รับรองว่าการชมภาพยนตร์ของใครก็ตามที่ได้อ่านจะเปลี่ยนไปไม่ใช่แค่ดูหนังแล้วสนุกไม่สนุก ดีหรือไม่ดี จะตีความได้มากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา คุณจะเข้าใจอุปนิสัยและสิ่งที่เป็นลายเซ็นเฉพาะของผู้กำกับคนนั้นๆ กันเลยทีเดียว

แล่เนื้อเถือหนัง

หนังสือในดวงใจ ๑๐ เล่ม (ตอนที่ ๒)

My shelf

ต่อจากโพสต์ที่แล้วที่เล่าถึงหนังสือในดวงใจ ๕ เล่มไปแล้วนะครับ โพสต์นี้มาว่ากันต่อ

๖. ฤทธิ์มีดสั้น โดย โกวเล้ง

นิยายกำลังภายในนี่ผมถือว่าเป็นหนังสือที่มี learning curve สูงมากนะครับ พยายามจะอ่านมาตั้งแต่ช่วงมอปลาย แต่ก็ไปไม่รอด เข้ามหา’ลัยลองเช่ามาอ่านอีกทีก็ยังไม่รอด สาเหตุเป็นเพราะรายละเอียดมันเยอะเหลือเกิน ต้องใช้เซลล์สมองเยอะมาก ตัวละครมีเพียบ และในบรรดานั้นแต่ละคนมีไม่ต่ำกว่า ๓ ชื่อ มีทั้งชื่อปกติสามัญ มีฉายาอีก แล้วมีชื่อแบบไม่ปกติด้วย ยกตัวอย่างเรื่องฤทธิ์มีดสั้น ตัวเอกชื่อ ลี้คิมฮวง แต่ฉายาพี่เค้าคือ เซี่ยวลี้ปวยตอ เท่านั้นยังไม่พอ คุณพี่ยังมีชื่อที่เรียกขานกันว่า ลี้ถ้ำฮวย อีกชื่อนึง นี่ยังไม่นับคำเรียกนับญาติกันอีกนะ จะเป็น ตั่วกอ อาอึ้ม อาเจ่ก อีกสารพัดอ่ะ และตัวละครแต่ละตัวก็มีวิชาฝีมือแตกต่างหลากหลายจากหลายสำนักวิชา อ่านๆ ไปก็นึกในใจ กูจะรอดมั้ย?

ฤทธิ์มีดสั้น / โกวเล้ง

สุดท้ายตัดสินใจ เอาวะ เห็นใครบอกเป็นเสียงเดียวว่า เล่มนี้แหละ แม่มสุดยอด ผมอดทนอ่านจนพ้นช่วง learning curve มาได้ ทีนี้ยาวเลยครับ จบฤทธิ์มีดสั้น ต่อด้วยเหยี่ยวเดือนเก้า ไปจอมดาบหิมะแดง ข้ามฟากไปหาพี่กิมย้ง เล่นมังกรหยก ก๊วยเจ๋ง อึ้งย้ง ต่อภาคเอี้ยก้วย เซียวเหล่งนึ่ง ยาวไปเตียบ่อกี้ ต่อไปถึง ๘ เทพอสูรมังกรฟ้า แล้วข้ามมาเล็กเซี่ยวหงส์ ฯลฯ ฟังดูเหมือนจะเยอะแต่ถ้าเทียบกับบรรดาเซียนหนังสือกำลังภายในแล้วผมอ่อนด้อยมาก

ในบรรดาหนังสือกำลังภายในทั้งหมดผมยกให้ฤทธิ์มีดสั้นนี่แหละ เหตุที่ช่วยเปิดโลกบู๊ลิ้มให้ผมได้ในที่สุด

๗. Liar’s Poker โดย Michael Lewis

ในช่วงปี ‘๙๐ มีคำพูดทำนองว่า อย่าเพิ่งเข้าทำงานใน Wall Street หากยังไม่ได้ดูหนังเรื่อง Wall Street (กำกับโดย Oliver Stone) และยังไม่ได้อ่าน Bonfire of the Vanities (ของ Tom Wolfe) และ Liar’s Poker เล่มนี้

Liar's Poker / Michael Lewis

ความหมายของคำพูดที่ว่าคือ ถ้ายังไม่ได้ดูหนัง ไม่ได้อ่านหนังสือ ๒ เล่มนี้ก็จะยังไม่เข้าใจวัฒนธรรมของแวดวง Wall Street ยังไม่รู้ซึ้งถึงเล่ห์เหลี่ยมและความโลภ หากเข้าไปทำงานก็จะโดนกินทั้งเป็นซะเปล่าๆ

Michael Lewis เขียนหนังสือเล่มนี้จากประสบการณ์การทำงานเป็นเซลส์ขายบอนด์อยู่ที่ Salomon Brothers ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ในตลาดบอนด์ในยุคนั้น โดยเล่าให้เห็นถึงความโลภและเห็นแก่ตัวของคนในวงการ ทำได้ทุกอย่างแม้แต่การขายขยะให้กับลูกค้า (ได้อย่างหน้าตาเฉย แถมพนักงานที่ขายได้ยังได้คำชมอีกต่างหาก) Liar’s Poker เป็นหนังสือเล่มแรกๆ (หรือเล่มแรก) ที่คนในวงการมาเขียนเล่าเรื่องวงการของตัวเองในทำนอง insider tells all และเป็นต้นแบบให้กับหนังสือแนวเดียวกันนี้ในยุคหลังๆ

ตัวละครในเล่มนี้บางคนเป็นหนึ่งในพวกตัวจี๊ดที่มาถล่มค่าเงินบาทของไทยในช่วงต้มยำกุ้งด้วยนะครับ

 Liar’s Poker ประสบความสำเร็จสูงมาก ส่งให้ Lewis มาเป็นนักเขียนเต็มตัวและเขียนงานดีๆ น่าอ่านตามมาอีกหลายเล่ม อย่าง The New New Thing ที่เป็นเรื่องราวของ Jim Clark หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Netscape และมีส่วนทำให้เกิดยุคดอทคอมในช่วงปี ‘๙๐ หรือ The Blind Side เรื่องของนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลที่นำมาสร้างเป็นหนังและส่งให้ Sandra Bullock ได้ออสการ์

Lewis เคยให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า เขาเจตนาเขียน Liar’s Poker เพื่อเตือนสติคนหนุ่มสาวถึงความโลภ ความไร้จริยธรรม ไร้เหตุผลของแวดวง Wall Street และหวังว่าจะช่วยให้คนหันไปทำงานด้านอื่น แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม เพราะหนังสือเล่มนี้กลับยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้คนสนใจที่จะเข้าทำงานใน Wall Street มากขึ้น เป็นอย่างนั้นไป

๘. One Up On Wall Street โดย Peter Lynch

ผมสนใจเรื่องหุ้นตอนเรียนปีสามในมหา’ลัย ปัญหาสำคัญที่เจอตอนนั้นคือ หนังสือที่เกี่ยวกับการเลือกหุ้น วิเคราะห์หุ้นมีน้อยมาก ที่พอจะมีอยู่บ้างก็เป็นพวกตำราเรียน ซึ่ง (โคตร) จะวิชาการ กับหนังสือเรื่องการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค ซึ่งก็เป็นพวกแท่งเทียน เขียนกราฟ ลากเส้น แต่ต้องใช้โปรแกรม ซึ่งเราไม่มี ยุคนั้นไม่ต้องพูดถึงอินเทอร์เน็ตนะครับ คนรู้จักน่าจะมีแค่หยิบมือ จะเข้ากูเกิ้ลหาแบบสมัยนี้ก็ทำไม่ได้ ก็ต้องคอยอ่านเอาจากนิตยสารเล่มไหนที่พอจะมีลงบทความเรื่องพวกนี้อยู่บ้าง

จนกระทั่งจบออกมาทำงาน ผมไปอ่านเจอจากที่ไหนก็จำไม่ได้ว่ามีหนังสือเกี่ยวกับการเลือกหุ้นในแนวปัจจัยพื้นฐานที่ดีมากๆ อยู่เล่มนึง เขียนโดย Peter Lynch ผมได้เล่มนี้จากเอเชียบุ๊คส์ สาขาสุขุมวิท เหลืออยู่เล่มนึงพอดี จริงๆ ตอนนั้นก็ยังอ่านภาษาอังกฤษไม่ได้ความนะ (ตอนนี้ก็ยิ่งไม่ได้ความ) แต่อารมณ์ประมาณ กูเอาไว้ก่อนล่ะ

One Up On Wall Street / Peter Lynch

Peter Lynch เป็นซูเปอร์สตาร์ในแวดวงกองทุนรวมสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในนักการเงินที่ชาวบ้านชาวช่องรู้จักดี กองทุนที่พี่เค้าบริหารเติบโตได้กำไรต่อเนื่อง ถ้าจำไม่ผิดสถิติคือ ลงทุน ๑๐ ปีกำไร ๑๙ เท่า ขนาดนั้นเลยนะ ด้วยเครดิตขนาดนี้พอพี่ Lynch เขียนหนังสือว่าด้วยการเลือกหุ้นออกมาก็เลยขายดีถล่มทลาย แล้วที่เจ๋งก็คือ หนังสือของพี่เค้าดีจริงๆ สอนวิธีเลือกหุ้นแบบดูปัจจัยพื้นฐาน ใช้ภาษาแบบง่ายๆ ชาวบ้านก็เข้าใจงี้

ช่วงนั้นถ้ามีใครมาถามผมว่าจะอ่านหนังสือเกี่ยวกับการเล่นหุ้นเล่มไหนดี ผมจะแนะนำเล่มนี้ตลอดนะครับ จนหลังๆ มานี้มีหนังสือของไทยหลายเล่มที่ออกมาแล้วเขียนดี เข้าใจง่ายประมาณเดียวกัน ถึงได้เปลี่ยนมาแนะนำเล่มอื่นไปแทน

 ๙. The World Is Flat โดย Thomas L. Friedman

Friedman เป็นคอลัมนิสต์ (ที่ดังมาก) ของหนังสือพิมพ์ The New York Times เขียนเล่มนี้เป็นเล่มต่อเนื่องจาก The Lexus and the Olive Tree ที่ว่าด้วยเรื่องราวและบทบาทของ Globalization ที่มีต่อประเทศต่างๆ สำหรับเล่มนี้เป็นเรื่องราวของ Globalization และเทคโนโลยีที่ช่วยให้ประเทศด้อย เอ่อ… กำลังพัฒนาสามารถมาแข่งขันกับประเทศพัฒนาได้ ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ คือ ธุรกิจเอาต์ซอร์สของอินเดีย ที่ทำเอาคนอเมริกันตกงานกันเพียบบบบ

The World Is Flat / Thomas L. Friedman

สำหรับเล่มที่มีอยู่จะเห็นว่าหน้าปกแปลกไปไม่เหมือนเล่มอื่นๆ ที่เป็นรูปโลกแบนๆ เพราะเล่มนี้เป็น First Edition ที่ทางสำนักพิมพ์ทำพลาด ไปเอารูปมาทำปกโดยไม่ได้ขอลิขสิทธิ์จากเจ้าของ (เป็นตัวอย่างที่ดีว่า สำนักพิมพ์ระดับโลกแม่มก็พลาดโง่ๆ กันได้) พอออกวางขายได้ไม่นานก็โดนฟ้อง เลยต้องเก็บกลับมาพิมพ์ปกใหม่ เวอร์ชั่นนี้เลยมีน้อยนิดนึง รูปที่อยู่บนปกนี่ชื่อว่า I Told You So หรือแปลได้ว่า กูบอกมึงแล้ว (ว่าโลกแบน)

๑๐. Live Love Laugh โดย มนูญ ทองนพรัตน์

คอนเซ็ปต์หนังสือเล่มนี้แข็งแรงมากและถูกใจผมมาก เป็นหนังสือที่ไปสัมภาษณ์คนอาชีพต่างๆ ถึงรูปแบบการใช้ชีวิต ความชอบส่วนตัว งานที่ทำและที่สำคัญคือ บ้านที่เขาอยู่เป็นยังไง ซึ่งก็จะแตกต่างกันตามรูปแบบการใช้ชีวิต อาชีพการงานและความชอบของแต่ละคน เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้คล้ายกับรายการทีวีที่ผมชอบมากรายการนึงทางช่อง ThaiPBS คือ เป็น อยู่ คือ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะผู้เขียนเล่มนี้เป็นทีมงานคนนึงของรายการเป็น อยู่ คือ ด้วย

Live Love Laugh / มนูญ ทองนพรัตน์

จริงๆ ครบ ๑๐ เล่มแล้ว แต่มันเหมือนยังไม่สุด ขออนุญาตแหกกฎ เพิ่มอีกสองสามเล่มคงไม่ว่ากันนะ

๑๑. TIME ฉบับ August 18, 1997

ผมเป็นติ่งพี่’ตีฟ จ็อบส์มาตั้งแต่ม.๒ พอมีงานมีการทำแล้วก็พอจะอ่านภาษาอังกฤษได้บ้างก็เริ่มซื้อหนังสือและแมกกาซีนเกี่ยวกับพี่จ็อบส์ Apple และ Pixar เก็บไว้ ในบรรดาคอลเล็คชั่นทั้งหมดนี่ ต้องยกให้เล่มนี้

TIME / August 18, 1997

ในปี ๑๙๙๗ จ็อบส์เพิ่งกลับมาที่ Apple และในวันนั้นจ็อบส์และ Apple ต่างจากวันที่จ็อบส์เสียชีวิตมากนะครับ Apple กำลังแย่ ใกล้จะล้มละลายเต็มที เรื่องและภาพจากปกเล่มนี้เป็น exclusive story ที่เป็น behind the scene ก่อนที่จ็อบส์จะขึ้นพูดที่งาน MacWorld และประเด็นสำคัญของงานวันนั้นก็คือ การประกาศดีลที่ไม่น่าเป็นไปได้ คือ Microsoft จะลงทุนใน Apple จำนวน ๑๕๐ ล้านเหรียญและสัญญาว่าจะผลิตซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องแมคต่อไป

ดีลนี้โคตรสำคัญสำหรับ Apple ในเวลานั้น ประมาณว่าถ้าดีลล้ม Apple ก็อาจล้มนะครับ

ทีเด็ดของเรื่องนี้ก็คือ ก่อนวันงานแค่ ๑๒ ชั่วโมงจ็อบส์ยังโทรเจรจาดีลกับบิลล์ เกตส์อยู่เลย นักข่าว Time ก็อยู่แถวนั้นด้วย รายละเอียดของดีลอาจจะไม่ได้ยิน แต่หลังจากที่ปิดดีลได้นี่สิครับ จ็อบส์บอกกับเกตส์ว่า

“Thank you for your support for this company. I think the world’s a better place for it”

ครับ ถ้าใครเป็นสาวก Apple ในเวลานั้น ได้ยินประโยคนี้คงจี๊ดดดดดดดน่าดู

๑๒. The Godfather โดย Mario Puzo

 ไม่รู้จะพูดยังไงเล่มนี้ ผมเริ่มจากดูหนังก่อน โคตรชอบ แล้วก็ซื้อเล่มฉบับแปลภาษาไทยมาอ่าน พอเริ่มอ่านภาษาอังกฤษได้ก็ซื้อเล่มภาษาอังกฤษมาอีก หยิบมาอ่านแต่ละครั้งได้มุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นทุกครั้ง ทีแรกก็อ่านเอามันนะ ครั้งต่อไป เฮ้ย นี่มันเรื่องของครอบครัวนะ ครั้งถัดมา อ้าว มีเรื่องบิสสิเนสด้วยนะ อ่านอีกที อืม นี่มันมีการบริหารบุคคลด้วยนะมึง สุดที่จะเอ่ยอ่ะ

The Godfather / Mario Puzo

๑๓. งานเขียนของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล

ผมเป็นศิษย์สำนักผู้จัดการนะครับ ถึงวันนี้ออกจากสำนักมาแล้วก็ยังสำนึกตัวอยู่เสมอและถือว่าโชคดีมากที่มีโอกาสได้อ่านงานเขียนของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ท่านเจ้าสำนักมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นทำงาน

คุณสนธิมีความสามารถพิเศษในการอธิบายเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่ายๆ บวกกับภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้การเล่าเรื่องของคุณสนธิดึงดูด น่าติดตามและมีพลังอย่างมาก ใครที่เคยดูรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” ทางช่อง ๙ โมเดิร์นไนน์เมื่อหลายปีก่อนคงจะพอจำกันได้

ถ้าจะเอาให้ใกล้กว่านั้นก็ลองนึกถึงภาพคุณสนธิบนเวทีพันธมิตรนะครับ

โลกานุวัตร / สนธิ ลิ้มทองกุล

เวลาเขียนหนังสือแล้วเขียนไม่ออก อาจจะตื้อด้วยการเล่าเรื่อง หรือ สำนวนภาษา ผมมักจะหยิบงานเขียนของคุณสนธิมาเปิดดู ซึ่งข้อเสียของการอ่านงานของคุณสนธิที่เจอทุกครั้งก็คือ อ่านแล้วมันเพลิน ลืมเวลา บ่อยครั้งที่ต้องตัดใจวางเพราะไม่งั้นจะเขียนงานตัวเองไม่ทันครับ

 ๑๔. เชอร์ลอคโฮล์มส์ โดย Sir Arthur Conan Doyle

พี่โฮล์มส์นี่น่าจะเป็นนักสืบในดวงใจของเด็กผู้ชาย (และผู้ใหญ่) จำนวนไม่น้อยนะครับ และผมเชื่อว่า ถ้าไปถามเด็กผู้ชายว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร? เด็กส่วนหนึ่งจะอยากเป็นนักสืบ โดยมีที่มาจากความเท่ของพี่โฮล์มส์นี่แหละ (แต่เด็กยุคนี้ไม่รู้แล้วนะ อาจจะอยากโตขึ้นมาเป็นณเดชน์ หรือเจมส์ จิ กันหมดแล้ว)

เชอร์ลอคโฮล์มส์ / Sir Arthur Conan Doyle

ชุดนี้อ.สายสุวรรณเป็นผู้แปล ผมซื้อเอง อ่านมาตั้งแต่เด็ก เพิ่งมาเปิดดูวันนี้ว่าพิมพ์มาตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๑๖ คลาสสิคมากกกกก

ครบแล้วครับ ยาวมาก ขอบคุณทุกคนที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ ใครคิดเห็นยังไง อยากแชร์หนังสือเล่มไหน เชิญได้ในคอมเม้นต์นะครับ