แนะนำหนังสือ : ๗๒ ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย

๗๒ ปีธนาคารแห่งประเทศไทย

มีหนังสือดีมาแนะนำครับ สำหรับคนที่สนใจเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์และการเงินการธนาคาร เล่มนี้เลยครับ ๗๒ ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๒ ปีของการก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา

เนื้อหา ด้านในเล่าถึงประวัติของธปท. ตั้งแต่ยุคก่อนที่จะมีธนาคารชาติ ซึ่งมีชาวต่างชาติเสนอตัวมาขอตั้งธนาคารชาติให้กับสยามประเทศหลายรายด้วยกัน มาจนถึงความพยายามของคนไทยเอง แต่ก็มีความคิดเห็นที่หลากหลาย ไม่เห็นพ้องต้องกันนัก รวมทั้งยังโดนขัดขวางจากที่ปรึกษาต่างชาติ ทำให้กว่าจะก่อตั้งและเปิดดำเนินการธนาคารชาติของเราได้ก็กินเวลาล่วงเลยมา นับสิบปีเลยทีเดียว

นอกจากนั้น ยังมีเรื่องราวและประวัติของผู้ว่าการธปท. ทุกคน (พร้อมภาพประกอบ) ตั้งแต่คนแรก คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย มาจนถึง ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ คนปัจจุบัน (ที่กำลังจะหมดวาระในปีนี้และได้ยินมาว่าจะไม่เสนอตัวเข้ารับคัดเลือกเป็น วาระสอง) โดยผู้เขียนได้เล่าถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคของผู้ว่าการแต่ ละคน ซึ่งในหลายกรณีเป็นการมีส่วนร่วมของธปท. ต่อเหตุการณ์สำคัญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ประเภทที่ว่าถ้าพลาดพลั้งขึ้นมาอาจถึงขั้นประเทศล่มจมกันได้เลย

บาง เหตุการณ์ก็เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประเภทที่คนชอบเรื่องราวทำนองนี้น่าจะถูก ใจ อาทิเช่น น่าจะมีเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่าเมื่อแรกเปิดดำเนินการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดทำลูกกุญแจทองคำขึ้น โดยลูกกุญแจนี้ใช้เพื่อไขประตูหน้าของที่ทำการในวันนั้น หรือความเป็นมาของโรงพิมพ์ธนบัตรของไทยที่ต้องถึงระดับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งการถึงจะได้ดำเนินการ

หนังสือเล่มนี้ไม่มีวางจำหน่ายนะครับ ใครสนใจลองสอบถามไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเอาเอง โชคดีครับ

————————-

อัพเดตครับ

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิ้งก์นี้นะครับ https://www.bot.or.th/Broadcast/EBook/72BOT/72BOT/book/files/extfile/72BOT.pdf

แนะนำหนังสือ : ๗๒ ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย

๗๒ ปีธนาคารแห่งประเทศไทย

มีหนังสือดีมาแนะนำครับ สำหรับคนที่สนใจเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์และการเงินการธนาคาร เล่มนี้เลยครับ ๗๒ ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๒ ปีของการก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา

เนื้อหาด้านในเล่าถึงประวัติของธปท. ตั้งแต่ยุคก่อนที่จะมีธนาคารชาติ ซึ่งมีชาวต่างชาติเสนอตัวมาขอตั้งธนาคารชาติให้กับสยามประเทศหลายรายด้วยกัน มาจนถึงความพยายามของคนไทยเอง แต่ก็มีความคิดเห็นที่หลากหลาย ไม่เห็นพ้องต้องกันนัก รวมทั้งยังโดนขัดขวางจากที่ปรึกษาต่างชาติ ทำให้กว่าจะก่อตั้งและเปิดดำเนินการธนาคารชาติของเราได้ก็กินเวลาล่วงเลยมานับสิบปีเลยทีเดียว

นอกจากนั้น ยังมีเรื่องราวและประวัติของผู้ว่าการธปท. ทุกคน (พร้อมภาพประกอบ) ตั้งแต่คนแรก คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย มาจนถึง ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ คนปัจจุบัน (ที่กำลังจะหมดวาระในปีนี้และได้ยินมาว่าจะไม่เสนอตัวเข้ารับคัดเลือกเป็นวาระสอง) โดยผู้เขียนได้เล่าถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคของผู้ว่าการแต่ละคน ซึ่งในหลายกรณีเป็นการมีส่วนร่วมของธปท. ต่อเหตุการณ์สำคัญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ประเภทที่ว่าถ้าพลาดพลั้งขึ้นมาอาจถึงขั้นประเทศล่มจมกันได้เลย

บางเหตุการณ์ก็เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประเภทที่คนชอบเรื่องราวทำนองนี้น่าจะถูกใจ อาทิเช่น น่าจะมีเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่าเมื่อแรกเปิดดำเนินการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดทำลูกกุญแจทองคำขึ้น โดยลูกกุญแจนี้ใช้เพื่อไขประตูหน้าของที่ทำการในวันนั้น หรือความเป็นมาของโรงพิมพ์ธนบัตรของไทยที่ต้องถึงระดับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งการถึงจะได้ดำเนินการ

หนังสือเล่มนี้ไม่มีวางจำหน่ายนะครับ ใครสนใจลองสอบถามไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเอาเอง โชคดีครับ

————————-

อัพเดตครับ

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิ้งก์นี้นะครับ https://www.bot.or.th/Broadcast/EBook/72BOT/72BOT/book/files/extfile/72BOT.pdf

ผลงานคุณสุเชาว์ ศิษย์คเณศ ที่วังบางขุนพรหม

ภาพวาดผลงานอาจารย์สุเชาว์ ศิษย์คเณศ (๓)

เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วผมมีโอกาสได้อ่านบทความด้านศิลปะชิ้นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันที่ทำงานอยู่ (ใช่ครับ บทความด้านศิลปะในหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน คุณอ่านไม่ผิดครับ) บทความชิ้นนี้เขียนโดยผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย เล่าถึงศิลปินไทยท่านหนึ่งที่มีชีวิตยากลำบาก สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะศิลปินผู้นี้เป็นผู้มาก่อนกาล แนวทางการวาดภาพของท่านยังไม่เป็นที่นิยมในสังคมไทยในเวลานั้น ซึ่งจะว่าไปแล้วนี่นับเป็นเรื่องปกติของศิลปินเอกหลายท่าน

ศิลปินท่านนี้คือ คุณสุเชาว์ ศิษย์คเณศ

สิ่งที่กระทบใจผมมากที่สุดในบทความชิ้นนั้นก็คือ ข้อความที่บอกว่าคุณสุเชาว์มักจะวาดรูปบ้าน เนื่องจากในชีวิตจริงคุณสุเชาว์ไม่เคยมีบ้านเป็นของตัวเอง ต้องอาศัยอยู่ในห้องเช่าและย้ายไปมาอยู่ตลอด บ้านจึงเป็นสิ่งที่อยู่ในใจคุณสุเชาว์เสมอเมื่อจะวาดรูปก็เลยมักจะออกมาเป็นรูปบ้าน

ภาพผลงานของคุณสุเชาว์ที่ลงประกอบในบทความนั้นเป็นภาพวาดลักษณะเดียวกับภาพด้านบน แม้ภาพที่ตีพิมพ์จะเป็นเพียงภาพขาวดำ ขนาดไม่ใหญ่นัก แต่ต้องบอกว่าได้เห็นแล้วทำให้คนไม่ประสาด้านศิลปะอย่างผมทึ่ง อึ้งและประทับใจอย่างมาก หลังจากนั้นถ้ามีโอกาสแวะเวียนผ่านงานแสดงศิลปะหรือแกลเลอรีที่ไหน ผมพยายามดูว่ามีผลงานของคุณสุเชาว์บ้างไหม เพราะอยากเห็นของจริงด้วยตาตัวเองซักครั้ง แต่ไม่มีโอกาสเลยนะครับ

จนกระทั่งวันนึงมีกิจธุระต้องเข้าไปที่วังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ระหว่างที่เดินๆ อยู่สายตาก็มองงานศิลปินเอกของไทยแต่ละท่านไปเพลินๆ ก็ต้องมาสะดุดกับภาพวาดที่มีองค์ประกอบคุ้นตา ใช้โทนสีหม่น เป็นภาพของคุณสุเชาว์จริงๆ แต่น่าเสียดายที่แบงก์ชาติเป็นสถานที่ที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยสูง ผมมีโอกาสยืนดูอยู่ได้ไม่นานก็ต้องออกมา

จากวันนั้นมาสิบกว่าปีก็ยังไม่มีโอกาสได้เจองานของคุณสุเชาว์ที่ไหนอีก

จนกระทั่งสัปดาห์ก่อนผมมีได้เข้าไปประชุมงานในวังบางขุนพรหมอีกครั้ง ไม่รู้ว่าเป็นเหตุบังเอิญหรือโชคชะตาชักนำประการใด ในห้องประชุมมีภาพวาดของคุณสุเชาว์สามภาพแขวนเรียงกันประชันอยู่ตรงหน้าเลย ในระหว่างที่การประชุมดำเนินไปผมก็รอจังหวะไป พอสบโอกาสก็เดินไปชม ขยับเข้าไปดูรอยฝีแปรงรอยปาดเกรียงใกล้ๆ แล้วถอยออกมาดูภาพในระยะห่าง ขยับเข้าขยับออกอยู่นาน จากนั้นก็ถือวิสาสะหยิบโทรศัพท์มาบันทึกภาพเก็บไว้เป็นภาพชุดนี้นี่แหละครับ

ภาพวาดผลงานอาจารย์สุเชาว์ ศิษย์คเณศ (๒)

มีอีกภาพครับ

ภาพวาดผลงานอาจารย์สุเชาว์ ศิษย์คเณศ (๑)

ไม่รู้เหมือนกันว่าที่วังบางขุนพรหมยังมีภาพของคุณสุเชาว์อีกมั้ย เพราะในพื้นที่ที่ผมเข้าไปเห็นมีอยู่เพียงสามภาพนี้ครับ

ปอลิง ทราบมาว่าที่ธนาคารทิสโก้ มีภาพของคุณสุเชาว์อยู่จำนวนหนึ่งด้วยครับ หากใครมีภาพถ่ายจะแชร์มาให้ชมบ้างก็ขอบคุณมากครับ